วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

No3

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 
วันอังคาร ที่ 24 เดือนมกราคม พ.ศ.2560
เวลา 14.30-17.30 น.





******ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากกลับไปทำธุระที่ต่างจังหวัด******

No2

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคาร ที่ 17 เดือนมกราคม พ.ศ.2560
เวลา 14.30-17.30 น.
เนื้อหาการเรียนการสอน
      1.การเรียนการสอน เรื่อง สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

     
   การเรียนทฤษฎีและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีหัวข้อในการเรียนการสอน ดังนี้
   
           1.ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรูปแบบของพัฒนาการทางร่างกายอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเสาะแสวงหาประสบการณ์ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ หากแต่สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตภาพที่แวดล้อมรอบตัวเด็กนั่นเอง ที่ทำให้อัตราการพัฒนาช้า-เร็วแตกต่างกัน
          
           2.การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
           การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิดญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบการบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็นของจริง
          
           3.การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
           ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
           ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
           ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ

           4.รูปแบบการเรียนรู้ของเด็ก
          การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความเหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
          การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
          การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ

           5.กระบวนการการเรียนรู้
         การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)

           6.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
               -ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
            -ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี

           7.แนวคิดของการเรียนรู้
                  -ทฤษฎีของ Bloom
                  -ทฤษฎีของ Mayor

            8.ความหมายของพัฒนาการ
            เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง

            9.ลักษณะของพัฒนาการ
              • การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
              • พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalo - caudal direction)
              • พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป
              • พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
              • อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
              • ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
              • พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
              • พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
              • พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
              • พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

            10.ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
       

การประเมิน
   ประเมินตนเอง
    -เข้าเรียนตรงเวลา
    -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

   ประเมินเพื่อน
    -เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
    -เพื่อนมีปฎิสัมพันธ์ต่อกันและกัน เข้าร่วมกิจกรรมได้ดี

   ประเมินอาจารย์
     -อาจารย์สอนได้ผ่อนคลาย ไม่เคลียดจนเกินไป
     -อาจารย์น่ารัก และสอนได้เข้าใจถึงสถานการณ์จริง

นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์ ผู้บันทึก


No1

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคาร ที่ 10 เดือนมกราคม พ.ศ.2560
เวลา 14.30-17.30 น.

เนื้อหาในการเรียนการสอน
        
             1.การปฐมนิเทศในชั้นเรียน
                   -การแต่งกาย
                   -ระเบียบวินัยต่างๆ เวลา การเข้าชั้นเรียน
                   -เนื้อหาในการเรียนการสอนตลอดทั้งเทอม
             2.การสนทนาระหว่างอาจารย์และนักศึกษาก่อนการเข้าสู่การเรียนการสอน
             3.การทำความเข้าใจในวิชาการเรียนการสอน ให้ได้เข้าใจเนื้อหาพอสังเขป
             4.การเรียนเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
                   -ของเล่น
                   -การทำสื่อปฐมวัย
                   -ประโยชน์ของสื่อปฐมวัย


          ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับสื่อ
         
         โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้

การประเมิน
การประเมินตนเอง
      -ตั้งใจฟังอาจารย์ อธิบายเนื้อหา 
      -เข้าเรียนตรงเวลาแต่งการเรียบร้อย
การประเมินเพื่อน
      -เพื่อนบางกลุ่มตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้อย่างตั้งใจ
      -เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และ แต่งกายเรียบร้อย
การประเมินผู้สอน
      -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
      -อาจารย์ขมักเขม้นในการสอนอย่างตั้งใจ และมีกิจกรรมถามตอบกับนักศึกษาอย่างสนุกสนาน



นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์   ผู้บันทึก